เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
ฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอปริยาปันนธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอริยมรรค 4 เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอปริยาปันน-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล กำหนดสามัญญผลและนิพพานเป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างนี้
ธรรม 9 ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข
จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อ
เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
นี้คือธรรม 9 ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :124 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
[74] ธรรม 9 ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
โดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็น
สมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิต
เป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อมนสิการโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความ
เป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มี
จิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
นี้คือธรรม 9 ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
ความต่าง 9 ประการ คือ ผัสสะต่าง ๆ อาศัยธาตุต่าง ๆ เกิดขึ้น เวทนา
ต่าง ๆ อาศัยผัสสะต่าง ๆ เกิดขึ้น สัญญาต่าง ๆ อาศัยเวทนาต่าง ๆ เกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :125 }